สำนักข่างฝรั่งเศส Le Petit Journal เผยแพร่บทสัมภาษณ์ของวุฒิสมาชิกสี่คนซึ่งมีมุมมองทางการเมืองที่ต่างกันออกไป วุฒิสมาชิกเหล่านี้เพิ่งเดินทางไปเยือนประเทศไทยและให้ความเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองไทยที่น่าสนใจว่า
นาย Gerard Miquel สว.จากพรรคสังคมนิยมซึ่งเป็นพรรคผู้นำรัฐบาลกล่าวว่า
รัฐสภา [ไทย] ไม่ได้มีอำนาจมาก แต่เป็นกองทัพต่างหากที่มีอำนาจเพราะรัฐธรรมนูญซึ่งผ่านร่างโดยคำนำเสนอของรัฐบาลทหารและไม่ได้ให้อำนาจรัฐสภามาก
แน่นอนว่า คนที่มีไหวหริบทางการเมืองซักนิดหนึ่งและมีความเชื่อมั่นในแบบแผนแบบประชาธิปไตยย่อมจะเข้าใจสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว
แต่ไม่ใช่แค่สว.ฝ่ายซ้ายเท่านั้นที่สรุปแบบนั้น นาย Bernard Saugey สว.จากพรรค UMP ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายขวากล่าวว่า
ประเทศไทยคือประเทศที่มีแบบแผนประชาธิปไตยที่ไม่ค่อยถูกต้องนัก ซึ่งนั้นอาจเป็นเพราะกฎหมายรัฐธรรมนูญ
อย่างไรก็ตาม นาย Hervé Maurey จากพรรคกลางได้แสดงความเห็นไว้ได้ดีที่สุด เขากล่าวว่า
ในตอนแรก เราอาจคิดว่า (ประเทศไทย) มีประชาธิปไตยเพราะมีสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งในแบบที่ดูเหมือนเป็นประชาธิปไตย แต่หลังจากที่เราสนทนากัน เราจึงรู้ว่ารัฐสภาและรัฐบาลมีอำนาจเพียงบางส่วนเท่านั้น เราค้นพบว่าทหหารมีอำนาจอย่างมาก รวมถึงผู้พิพากษาซึ่งความสัมพันธ์ที่อันแนบเน้นกับกลุ่มอนุรักษ์นิยมและกองทัพมากกว่า
นาย Hervé Maurey กล่าวต่อว่า
เรารับรู้ว่าสถานการณ์นั้นซับซ้อนเพราะมักมีการข่มขู่ว่าจะทำรัฐประหารหากรัฐบาลอยากจะทำอย่างไรที่มากเกินไป เรารู้สึกว่านักการเมืองมีขอบเขตที่จะทำอะไรจำกัดมาก นี่เห็นได้จากช่วงเวลาที่มีความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญ
สิ่งที่น่าแปลกคือสว.เหล่านี้ใช้เวลาสองวันในการทำความเข้าใจสถานการณ์อย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นสิ่งที่สื่อมวลชนต่างชาติล้มเหลวแม้พวกเขาที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯหลายสิบปี ซึ่งทำให้เกิดคำถามว่า จะมีสื่อต่างชาติไปทำไมหากพวกเขาไม่สามารถให้ข้อมูลการวิเคราะห์ที่ถูกต้องได้และดูเหมือนจะทำงานร่วมกับกลุ่มอนุรักษ์นิยมสุดขั้วในประเทศไทยด้วย?
บทสัมภาษณ์แปลจาก "Le petit journal" (ผมขอขอบคุณเพื่อน facebook คุณ Alex Biosiam อย่างมากที่ช่วยแปลคำสัมภาษณ์บางส่วน ซึ่งทำให้ผมและคนอื่นๆสนใจบทสัมภาษณ์ดังกล่าว
Le petit journal: คุณคิดอย่างไรเกี่ยวกับการทำงานของสถาบันทางรัฐสภาของประเทศไทย?
Gerard Miquel (สว.พรรคสังคมนิยม): นี่อาจจะยากหน่อยสำหรับเวลาเพียงหนึ่งวันครึ่งในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับสถาบันเหล่านั้น แต่ดูเหมือนว่ารัฐสภาไม่ได้มีอำนาจมาก แต่เป็นกองทัพต่างหากที่มีอำนาจเพราะรัฐธรรมนูญซึ่งผ่านร่างโดยการนำเสนอของรัฐบาลทหารและไม่ได้ให้อำนาจรัฐสภามาก สิ่งต่างๆสามารถเป็นแปลงได้ซึ่งแน่นอนเป็นเรื่องที่มีความหวัง
Gerard Miquel (สว.พรรคสังคมนิยม): นี่อาจจะยากหน่อยสำหรับเวลาเพียงหนึ่งวันครึ่งในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับสถาบันเหล่านั้น แต่ดูเหมือนว่ารัฐสภาไม่ได้มีอำนาจมาก แต่เป็นกองทัพต่างหากที่มีอำนาจเพราะรัฐธรรมนูญซึ่งผ่านร่างโดยการนำเสนอของรัฐบาลทหารและไม่ได้ให้อำนาจรัฐสภามาก สิ่งต่างๆสามารถเป็นแปลงได้ซึ่งแน่นอนเป็นเรื่องที่มีความหวัง
Le petit journal: พวกเขาได้ส่งสัญญาณบวกต่อคุณว่าอาจมีการเปลี่ยนแปลงนั้นหรือไม่?
Bernard Saugey (สว. พรรคฝ่ายขวา UMP และประธานกลุ่ม Isère Managing Group for Thailand): ผมคิดว่าสัญญาณบวกนั้นเกิดขึ้นอย่างช้าๆ และประเทศไทย คือประเทศที่มีแบบแผนประชาธิปไตยที่ไม่ค่อยถูกต้องนัก ซึ่งนั้นอาจเป็นเพราะกฎหมายรัฐธรรมนูญ นี่แหละก็ไม่มีอะไรที่จะต้องพูดมาก มันไม่มีอะไรที่ผิดกฎหมาย ทุกอย่างดูเหมือนถูกกฎหมาย แต่เรารู้สึกว่าประชาธิปไตยที่แท้จริง การเลือกตั้งมันไม่สำคัญต่อที่นี้ (ประเทศไทย) มากเท่าไร เราเชื่อว่าอาจมีการเปลี่ยนแปลงหากมีเจตจำจงทางการเมือง แต่มันจะพอที่จะเผชิญหน้ากับสิ่งที่มันใกล้มากๆหรือไม่? มันไม่ปลอดภัย
Gerard Miquel (พรรคสังคมนิยม): พวกเขาไม่สามารถจำกัดเจตจำนงของประชาชนได้ตลอดไปเพราะฉะนั้นความเปลี่ยนแปลงจะต้องเกิดขึ้น คนเสื้อแดงเคลื่อนไหวตลอดเวลา เราพบกับประธานกลุ่มประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ คุณธิดา ถาวรเศรษฐ ผู้หญิงซึ่งมีความเชื่อมั่นในเจตจำนงประชาธิปไตยอย่างมาก เราไม่คิดว่าพวกเขาจะสามารถควบคุมให้สถานการณ์เป็นอยู่อย่างนี้ตลอดไปได้ จะมีการเคลื่อนไหวอย่างเปิดเผยและหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในประเทศพม่า กองทัพที่อยู่ในอำนาจต้องเปลี่ยนแปลงตามความต้องการของประชาชน แน่นอนมันอาจไม่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอย่างที่เราคาดหวัง แต่มันก็ยังมีหวัง
Bernard Saugey (สว.พรรคฝ่ายขวา UMP ประธานกลุ่ม Isère Managing Group for Thailand): สำหรับพม่า เพื่อประชาธิปไตยและความสงบสุขของประชาชนพม่า มันดีกว่าที่จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ
Hervé Maurey (สว.พรรคกลางของ Eureและรองประธานกลุ่ม ): สิ่งที่น่าพิศวงเกี่ยวประเทศไทยสำหรับเราในฐานะสมาชิกรัฐสภาของฝรั่งเศศคือวิถีทางการเมืองไม่มีอะไรเหมือนเรา ในตอนแรก เราอาจคิดว่า (ประเทศไทย) มีประชาธิปไตยเพราะมีสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งในแบบที่ดูเหมือนเป็นประชาธิปไตย แต่หลังจากที่เราสนทนากัน เราจึงรู้ว่ารัฐสภาและรัฐบาลมีอำนาจเพียงบางส่วนเท่านั้น เราค้นพบว่าทหหารมีอำนาจอย่างมาก รวมถึงผู้พิพากษาซึ่งความสัมพันธ์ที่อันแนบเน้นกับกลุ่มอนุรักษ์นิยมและกองทัพ เรารับรู้ว่าสถานการณ์นั้นซับซ้อนเพราะมักมีการข่มขู่ว่าจะทำรัฐประหารหากรัฐบาลอยากจะทำอย่างไรที่มากเกินไป เรารู้สึกว่านักการเมืองมีขอบเขตที่จะทำอะไรจำกัดมาก นี่เห็นได้จากช่วงเวลาที่มีความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญ
Bernard Saugey Saugey (สว.พรรคฝ่ายขวา UMP ประธานกลุ่ม Isère Managing Group for Thailand): แต่ต้องไม่ลืมด้วยว่าสว.กว่าครึ่งมาจากการแต่งตั้ง
Gerard Miquel (พรรคสังคมนิยม): เรารู้สึกได้ว่าสส.ที่เราเจอมีความปรารถนาให้มีการกระจายอำนาจ(ทางการเมือง)มากขึ้น ผมคิดว่าหากพวกเขาดำเนินกระบวนการกระจายอำนาจ และหากทำได้อย่างดี ก็คาดได้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในสถาบันของประเทศซึ่งจะมีการก่อตั้งประชาธิปไตยได้เร็วขึ้น คุณสามารถดูได้จากฝรั่งเศส ในช่วงเวลา 30 ของการกระจายอำนาจ ที่มีตัวแทนท้องถิ่นซึ่งมาจากการเลือกตั้ง สามารถทำให้ประชาชนมีอำนาจมากขึ้น!
Bernard Saugey (สว.พรรคฝ่ายขวา UMP ประธานกลุ่ม Isère Managing Group for Thailand): เราเข้าพบผู้ว่ากรุงเทพมหานครซึ่งบอกเราว่ากทม.เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งระบบขนส่ง (ในกทม.) แต่รถบัสนั้นเป็นของรัฐ สำหรับเรานี่เป็นอะไรที่เหนือจริง
คำแปลนี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งจากบทสัมภาษณ์ทั้งหมด นี่คือลิงค์บทสัมภาษณ์ฉบับเต็มภาษษฝรั่งเศส
http://www.lepetitjournal.com/communaute-bangkok/actu-communaute/120526-interview-les-senateurs-francais-en-visite-officielle-en-thailande.html
http://www.lepetitjournal.com/communaute-bangkok/actu-communaute/120526-interview-les-senateurs-francais-en-visite-officielle-en-thailande.html
I am an admin of UDD news web site, Can I post your article on your website?
ReplyDeleteYes, put please make sure you include a link to my blog and please wait until tomorrow morning/ได้ครับ แต่รบกวนรอโพสต์พรุ่งนี้เช้าและลิงค์บล๊อคของผมตอนที่คุณโพสต์บทความในบล๊อคของนปช.ด้วย ขอบคุณมากครับ
ReplyDeleteAndrew
http://uddred.blogspot.com/2012/09/blog-post_52.html ขอบคุณสำหรับการอนุญาต ได้โพสท์ลิงค์ไว้ให้่ด้วยแล้วครับ
ReplyDelete